ท่านเจ้าของหลายๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยว่า “ไฟล์ Ai” ที่ร้านพิมพ์เมนูที่ท่านติดต่อไว้ มักจะร้องขอไฟล์ Ai บ่อยมากกกกกกก……. แล้วเอา ไฟล์ Ai ไปทำอะไร? ทำไมต้องเป็น ไฟล์ .Ai? ใช้ไฟล์ .JPG หรือ .PDF ไม่ได้เหรอ? แล้วใช้กับ Photoshop ได้หรือเปล่า? เดี๋ยวผมเลยจะมาเล่าให้ฟังครับ
Ai ไฟล์เทพๆ ใช้ ออกแบบเมนู
ไฟล์ .Ai เป็นไฟล์ที่มาจากโปรแกรมใน การออกแบบ ที่นิยมมากที่สุด คือ Adobe Illustrator ซึ่งไฟล์AI คือ ไฟล์ต้นฉบับ (จุดเริ่มต้น) สามารถนำไปปรับแก้ไขได้ทั้ง ขนาดหน้า ฟ้อนต์ สี ย่อ-ขยาย ได้ไม่ภาพแตก และสามารถกำหนดให้มีหลายหน้า ใน 1 ไฟล์ เรียกว่าทำได้แทบทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับ การออกแบบเมนู ดังนั้น “File Ai จึงสำคัญมากๆ ในการออกแบบเมนู“
อีกทั้ง การออกแบบ ด้วย File Ai ยังสามารถ Export ออกมาเป็นไฟล์ PDF/JPEG ที่คุณสามารถนำไปส่งโรงพิพม์ และใช้ทำเป็น E-Menu ทำเต้นท์การ์ด QR Code ใช้ตั้งบนโต๊ะได้อีกด้วย โดยที่ร้านอาหารหลายร้าน เริ่มนำมาใช้กันในช่วงนี้ที่ต้องเว้นระยะห่าง Social Distancing ลดการสัมผัสสิ่งของต่างๆ และสามารถเปิดเมนูดูได้ทุกที่
ภาพตัวอย่างเมนู ขนาด A4 ที่เผื่อตัดตกเรียบร้อยแล้ว กรอบ สีแดง คือ พื้นที่งานจริง กรอบเส้นประ คือ จุดที่เผื่อ การตัดตกสำหรับ งานพิมพ์เรียบร้อยแล้วครับ
PDF ไฟล์ Universal ที่โรงพิมพ์ทั้งรัก ทั้งไม่ชอบ
ไฟล์ .PDF เป็น ไฟล์ Final ที่ใช้ส่งโรงพิมพ์ เพื่อใช้ใน การพิมพ์เมนูอาหาร ออกมา ทั้งนี้ไฟล์ .PDF นั้นสร้างมาได้จากหลายโปรแกรมมากๆๆ ไม่ว่าจะ Export มาจาก AI, photoshop หรือ save as จากโปรแกรม Word, Excel, PowerPoint และอื่นๆ อีกมากมาก
ข้อดีของไฟล์ .PDF คือ เป็นไฟล์ที่เล็ก สะดวกเพราะส่งผ่าน email ได้ง่าย หรือแม้กระทั้งส่งผ่าน LINE (File .AI มักมีขนาดใหญ่ ทำให้จัดส่งไฟล์ได้ยุ่งยากกว่า) อีกทั้งยังเป็นไฟล์ที่ไม่สามารถขยับปรับเปลี่ยน (จริงก็แก้ไขได้บ้าง แต่ข้อจำกัดเยอะมากครับ) ทางโรงพิมพ์จึงชอบรับไฟล์ประเภทนี้
ส่วนที่โรงพิมพ์หลายที่ ไม่ชอบไฟล์ .PDF ในการพิมพ์เมนู และมักจะขอไฟล์ .AI มากกว่านั้น เกิดจาก การที่นักออกแบบเมนูมือสมัครเล่นหลายๆ ท่านไม่เข้าใจเรื่อง “ตัดตก*” จะทำให้โรงพิมพ์จะต้องเอาไฟล์ AI มาปรับแต่งเองอยู่เป็นประจำ
* การตัดตก คือ การเผื่อขอบด้านข้างให้ใหญ่ขึ้นด้านละ 0.3-0.5ซม.. เช่น เมนูอาหารขนาด A4 = 29.7*21 ซม. ต้องทำ File .PDF เป็นขนาด 30.3*21.6ซม. เพื่อให้โรงพิมพ์ทำงานง่ายขึ้น และไม่ขอไฟล์ Ai
Photoshop ก็ใช้ การออกแบบเมนู ได้นิ...
หลายท่านอาจเคยใช้ Photoshop ใน การออกแบบเมนูอาหาร ซึ่งการใช้งานได้ไม่ยาก ยัง ออกแบบเมนู ได้สวยด้วย แล้วแปลง File เป็น PDF หรือ JPG ส่งโรงพิมพ์ ร้าน พิมพ์เมนูอาหารออกมาได้ ทั้งนี้ การออกแบบเมนู ด้วย Photoshop เองก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องของการออกแบบเมนูหลายๆหน้า เนื่องจาก Photoshop ใช้ออกแบบได้เพียงทีละหน้า (1 ไฟล์ = 1 หน้าเมนู) หากคุณมีเมนู 20หน้า ก็จะมี File 20 ไฟล์ ถ้าไม่ได้ใช้คอมสเปคแรงๆ ยิ่งเปิด File เยอะเท่าไร คอมก็จะช้าลงไฟเท่านั้น อีกทั้งการโอนถ่ายข้อมูลไฟล์ระหว่างหน้ายุ่งยาก ใช้เวลาเยอะอีกด้วย
ส่วนไฟล์ Ai ใน 1 ไฟล์จะกำหนดสร้างได้ที่ละหลายๆ หน้า โอนถ่ายข้อมูล โยกรายกาารอาหารไปมา ระหว่างหน้าก็ทำได้สะดวกกว่า อีกทั้งการ export เป็นไฟล์ PDF ก็ทำได้ทั้งหมดทุกหน้าในคราวเดียวกัน
ภาพตัวอย่างไฟล์ใน Photoshop ใช้ เนื้อที่ ในการเปิดไฟล์เยอะมากๆ**
ทีนี้ เราคงเห็นประโยชน์และการใช้งานของไฟล์แต่ละประเภท และความสำคัญของไฟล์ .AI กันแล้วเนอะ ทั้งนี้ร้าน ออกแบบ และร้านพิมพ์ที่เหมาค่า ออกแบบเมนู ให้ฟรีๆ นั้นจะ “หวงไฟล์ Ai มากๆ” เพราะไฟล์ Ai ที่เป็นต้นฉบับ นั้นสามารถนำไฟล์ไปแก้ไข และส่งพิมพ์เมนูกับร้านอื่นๆ ได้ ซึ่งเมื่อเราขอไฟล์ Ai จากร้าน ทางร้านก็มักจะคิดเงินเพิ่มกับเรา (นี้คือ ค่าออกแบบที่แท้จริง ที่เขาเหมารวมกับค่าพิมพ์ไว้แล้ว)
ทั้งนี้ เมื่อคุณมาใช้บริการ ออกแบบเมนูร่วมกัน กับ Menu9Design นอกจากท่านจะได้ไฟล์ PDF และ JPG เพื่อส่งพิมพ์แล้ว ท่านยังได้รับไฟล์ Ai* ด้วย เนื่องจาก คุณเป็นเจ้าของไฟล์นี้ครับ!
*ไฟล์ AI ที่ส่งให้จะ save เป็น เวอร์ชั้น CS6 เพราะเวอร์ชั้นที่ต่ำกว่าจะเปิดกับโปรแกรมเวอร์ชั้นได้ทั้งสูงและต่ำ ลดปัญหากับคอมที่เวอร์ชั่นยังไม่ update