อย่างที่ทราบกันดีน่ะครับ ว่า ภาพอาหารที่สวย นั้นช่วยกระตุ้นยอดขายได้ และเมนูรายการไหนที่ภาพอาหารด้วย เมนูนั้นมักจะมียอดออเดอร์ที่สูงกว่า เมนูที่ไม่มีภาพ ดังนั้นภาพอาหารจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับ การออกแบบเมนู ที่ดีเสมอ จริงไหมครับ?

 

เราเคยชินกับ search รูปจาก Google อยู่แล้ว และ Google ก็มีรูปอาหารสวยๆๆ อยู่เยอะมากกกกกก (ก.ไก่ ล้านตัว) ละลานตาไปหมด ซึ่งไม่ยากเลย ที่เรากด Save ส่งให้นักออกแบบ-โรงพิมพ์ ไป ออกแบบเมนู กันใช่ไหมครับ?  ทั้งนี้ร้านอาหารควรใช้รูปเหล่านี้มาประกอบกับการออกแบบเมนู ได้ไหม? ดีไหม?

ตามประสบการณ์การออกแบบเมนู มายาวนาน บอกเลยว่า “ทำได้ แต่ไม่ควร”

ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

ภาพรายการอาหาร จาก Google

ภาพอาหารไม่ตรงปก

อันนี้เป็นหนึ่งในปัญหาพื้นฐานที่พบกันได้ กับ การออกแบบเมนู ที่มีภาพอาหาร โดยเฉพาะกับการใช้ภาพอาหารจาก Google เพราะว่า อาหารของแต่ร้านจะมีความแตกต่างกัน ไม่มากก็น้อย ทั้งปริมาณ ส่วนผสม จานชามภาชนะที่ใส่ อีกทั้งสีสรรของอาหารที่ปรุงแล้วก็อาจไม่เหมือนกันอีก โดยเฉพาะอาหารที่มีจำนวนชิ้นชัดเจนอย่าง ขนมจีบ ปอเปี๊ยะทอด ทอดมัน ถ้ารูปมี 4ชิ้น แล้วร้านเสริฟ 3ชิ้น ก็เป็นเรื่องแล้วครับ

อย่างมีเห็นการณ์หนึ่งที่ เพื่อนฝรั่งผมสั่งอาหารในร้านญี่ปุ่นเจ้าดังในห้างฯ โดยในรูปใช้หน่อไม้ฝรั่ง เป็นส่วนประกอบ (เล็กๆ แค่ 3-4เส้น) ร้านเสิร์ฟเป็นถั่วแขก แม้สีเขียวๆ คล้ายกัน แต่ฝรั่งเขาไม่ยอม ไม่พอใจเอามากกๆ เป็นเรื่องเป็นราวกันเลย (อย่างร้านอาหารในต่างประเทศ มักเลี่ยงปัญหาทำนองนี้ ด้วย การออกแบบเมนู ไม่มีภาพ ซึ่งก็ดูไม่น่ากิน)

อีกเคสที่ผมเคยไปคุม ถ่ายภาพเมนูอาหาร ให้กับ ร้านครัวคุณกุ้ง เพื่อใช้ในการออกแบบเมนู มีรายหนึ่ง ชื่อ “ไข่ไล่ทุ่ง” ที่มีหมูสับผัดเครื่องแกงราดบนไข่ออนเซน เพื่อให้ภาพอาหารดูสวยน่ากิน จึงนำไข่ออนเซ็นวางบนหมูสับ แล้วผ่าไข่ให้ไหลเยิ้มๆ ดูน่ากินมาก หลังจากที่ร้านได้ใช้เมนูเล่มนี้ ก็ต้องเปลี่ยนการจัดจานให้เป็นตามภาพอาหาร หลังจากที่โดนลูกบ่นว่า “ภาพไม่ตรงปก”

ภาพรายการอาหาร จาก Google

เมนูอาหารเรียบง่าย อ่านง่าย สบายตา

ออกแบบเมนูเรียบหรู ดูดี มีสไตล์ เมนูอาหารอ่านง่าย เห็นภาพเมนูชัดเจน ลูกค้าดูแล้วเข้าใจ ลดการผิดพลาดจากการสื่อสาร

เมนูไร้สไตล์ที่ชัดเจน

ภาพอาหารจาก Google มาใช้ใน ออกแบบเมนู ยอมมาจากมาจากหลากหลายเว็บไซต์ โดยสไตล์การจัดจาน จานชามภาชนะของแต่ละร้านก็แตกต่างกันไป อีกทั้งสไตล์ถ่ายภาพอาหารก็ไม่เหมือนกัน พอเอาย้ำรวมกัน ก็ทำให้สไตล์ของเล่มเมนู”ไม่ชัดเจน” 

โดยถ้าร้านอาหารคุณเป็นแนวที่แต่งร้านสวยๆ ร้านมีสไตล์เท่ห์ ร้านอาหารมีระดับ ถ้าใช้เมนูที่เอารูปจาก Google ก็หมดเสน่ห์ไปเลยน่ะครับ

ภาพจาก Google ใช้แล้ว มีความเสี่ยงไหม?

ภาพอาหารในอาณาจักร Google ก็มีหลายแบบ ภาพอาหารถ่ายสวยบ้าง ถ่ายแบบบ้านๆ บ้าง แล้วภาพอาหารมาใช้ออกแบบเมนู แล้วมีความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้องตามหลังมา

ภาพอาหารที่ติดลายน้ำ  (Watermark)

ภาพอาหารประเภทนี้ส่วนมาก มาจาก PhotoStock คลังรูป โดยมีเจ้าดังนี้ อย่าง ShutterStock, 123RF โดยภาพเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่จะโดนฟ้อง หากเรานำมาใช้ โดยที่องค์ระดับนานาชาติแบบนี้ เขามีทีมตรวจจับเป็นเรื่องเป็นราว เมื่อเขาเจอจะเรียกค่าเสียหายสูงมาก (สูงกว่าค่ารูปที่ซื้อลิขสิทธิ์ก่อนโดนจับได้ด้วย) ซึ่งถ้าไม่จ่าย ก็จะโดนฟ้องร้องได้ ไม่คุ้มกันเลย

อีกทั้งภาพอาหารที่ติดลายน้ำ (Watermark) มาใช้ในเมนูก็ดูไม่สวยงาม ขาดความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าที่เขามาทานอาหารในร้านด้วย

ตัวอย่างภาพติดลายน้ำ (Water Mark) 
Credit 123rf.com

ภาพอาหารจากร้านอื่น

หลายร้านอาหาร โปรโมรตร้านผ่านช่องทาง Website และ Social media ต่างๆ ไม่ว่า Facebook, Instagram ซึ่งหลังจาก Online ไป ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกร้านอาหารร้านอื่นๆ ดึงไปใช้ได้ง่ายๆ จึงเริ่มมีการป้องกันด้วยการใช้ลายน้ำ (Watermark) ไว้กลางภาพเช่นกัน 

ทั้งนี้โอกาสที่ร้านอาหารต้นฉบับ จะมาเจอเมนูที่เราออกแบบโดยภาพอาหารจากร้านเขา นั้นมีโอกาสน้อยๆ มากๆ อีกทั้งความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้องนั้นต่ำกว่า (เพราะร้านอาหารส่วนมาก ไม่มีทีมติดตามโดยเฉพาะ) มันขึ้นอยู่กับ การเห็นใจ ใจเขาใจเราน่ะครับ …. เขาอุตส่าห์เสียเงินจ้างช่างภาพ อีกทั้งเสียอาหารมาถ่ายรูป .. เราเอาใช้เงินฟรี หน้าตาเฉย.. ถ้าเราโดนบ้าง มันน่าเจ็บใจไหมครับ?

ตัวอย่างการสอนถ่ายภาพจากเมนูอาหารและเครื่องดื่ม iLoveToGoDotCOM

ภาพอาหารจาก Blogger

ทุกวันนี้เรามี Blogger รีวิวอาหาร และ สอนทำอาหาร จำนวนเยอะมากๆๆ โดยนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้มีภาพอาหารเข้ามาประชันกันใน Google ให้เราเลือกเยอมากๆ ทั้งนี้คุณภาพของภาพอาหาร ก็มีหลากหลายมาก ทั้งถ่ายด้วยช่างภาพ กับถ่ายมือถือกันเอง โดยสไตล์ภาพเหล่านี้ จะเป็นแนว Beauty Shot - Food Porn ที่ต้องให้ภาพเดียวดูน่ากินมากๆๆ ทำให้ไม่เหมาะในการทำเมนูอาหาร ที่ต้องมีภาพอาหารหลายรูปอยู่ด้วยกัน จึงค่อนข้างไม่แนะนำ

 

เพื่อให้ได้ เมนูที่ออกแบบมาสวยงาม ภาพอาหารสวยน่ากิน มีสไตล์เป็นของร้านอาหารเราเอง ผมจึงแนะนำว่า ใช้ภาพอาหารที่ถ่ายเอง ไม่ว่าจะมีงบประมาณมากหน่อย ก็จ้างช่างภาพ โดยมีให้เลือกหลายช่วงราคา ตั้งแต่มือสมัครเล่นหลักพัน กลางๆ ก็หลักหมื่น แนวหน้าของวงการก็หลักแสน 

ทั้งนี้ช่างภาพจะคิดตามมจำนวนเวลาที่ถ่ายภาพเป็นหลัก ถ้าถ่ายแบบมุมเดียว ทุกจาน 1คิว (8ชม.) ก็ได้ประมาณ 30-60ภาพ ส่วนถ้าอยากให้สวย เน้นทุนจาน ทุกรายการ แต่งฉาก เปลียน prop ไปตามอาหาร ก็อาจะได้ 10-15ภาพ/คิว ดังนั้นเราควรวางแผน กำหนดทิศทางการถ่าย กับ นักออกแบบเมนู ก่อน

ส่วนลูกค้าที่เริ่มทำร้านอาหาร และท่านที่มีงบจำกัด อยาก ถ่ายภาพอาหาร ไปใช้ ออกแบบเมนู ด้วยตัวเอง ก็สามารถเริ่มได้จาก กล้องมือถือตัวเอง เพราะมือถือทุกวันนี้ทันสมัย ถ่ายรูปสวย เอามาประกอบ การออกแบบเมนูอาหาร พอได้อยู่น่ะครับ (เร็วๆ นี้ ผมจะมีคลิป สอนภ่ายภาพอาหารด้วยมือถือครับ)